วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1


ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธศาสนา

      หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น อ่านต่อ


บทที่ 2

พุทธประวัติและชาดก

พุทธประวัติ  พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่างและชาดก-ให้นักเรียนย่อเรื่องพุทธประวัติ ,พระสาวก, พุทธสาริกา,ชาวพุทธตัวอย่างละชาดกให้พิมพ์เรื่องย่ออย่างน้อย 30 บรรทัศ
๑. พุทธประวัติ

๑.๑  ผจญมาร  เมื่อพระมหาสัตว์  ทรงรับหญ้ากุสะ ๘กำจากพราหมณ์ชื่อโสตถิยะแล้ว  ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะที่โคนต้น อัสสัตถะ” (ต่อมาเรียกต้นพระศรีมหาโพธิ์) ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า ตราบใดที่ยังไม่บรรลุด้วยความพยายามของบุรุษ  ด้วยเรี่ยวแรงองบุรุษ  แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดหายไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะว่า บัลลังนี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้นเดียวนี้ อ่านต่อ


บทที่ 3

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

     เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อ่านต่อ


บทที่ 4

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

      พุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ในหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญแห่งชีวิต อันได้แก่ จักร 4 และทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 โดยสามารถนำปัญญาที่ประกอบด้วยธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 และมรรคมีองค์ 8 เข้าตรวจสอบคุณภาพชีวิตของตน สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต เพื่อความผาสุกแก่ตนเองและสังคม อ่านต่อ


บทที่ 5

พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่

 -พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี
 -พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ
 -พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ อ่านต่อ